อะเลคเซย์ เลโอนอฟ
อะเลคเซย์ เลโอนอฟ | |
---|---|
Алексе́й Архи́пович Лео́нов | |
อะเลคเซย์ เลโอนอฟ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1974 | |
เกิด | 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 ลีสต์เวียนคา, ดินแดนไซบีเรียตะวันตก, สาธารณรัฐรัสเซีย, สหภาพโซเวียต |
เสียชีวิต | 11 ตุลาคม ค.ศ. 2019 มอสโก, รัสเซีย | (85 ปี)
สัญชาติ | ชาวโซเวียต, ชาวรัสเซีย |
อาชีพ | นักบิน, นักบินอวกาศ |
รางวัล | |
อาชีพในอวกาศ | |
นักบินอวกาศชาวโซเวียต | |
ยศ | พลอากาศตรี, กองทัพอากาศโซเวียต [1] |
อยู่บนอวกาศ | 7 วัน 00 ชั่วโมง 33 นาที 02 วินาที[2] |
การคัดเลือก | กลุ่มกองทัพอากาศที่ 1 |
ปฏิบัติการนอกยาน | 1 |
เวลาปฏิบัติการนอกยาน | 12 นาที, 9 วินาที |
ภารกิจ | วอสฮอด 2, โซยุซ 19 (ASTP) |
เครื่องหมายภารกิจ | |
ลายมือชื่อ | |
อะเลคเซย์ อาร์ฮีโปวิช เลโอนอฟ (รัสเซีย: Алексе́й Архи́пович Лео́нов, สัทอักษรสากล: [ɐlʲɪˈksʲej ɐˈrxʲipəvʲɪtɕ lʲɪˈonəf]) (30 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 – 11 ตุลาคม ค.ศ. 2019) เป็นนักบินอวกาศ ทหารอากาศ นักเขียนและศิลปินชาวโซเวียต-รัสเซีย ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1965 เขาเป็นบุคคลแรกที่กระทำการเดินอวกาศ ด้วยออกจากแคปซูลในภารกิจวอสฮอด 2 เป็นเวลา 12 นาที 9 วินาที เขาได้รับคัดเลือกให้เป็นพลเมืองโซเวียตคนแรกในโครงการลงจอดมนุษย์บนดวงจันทร์ แต่ถึงกระนั้นโครงการได้ถูกยกเลิกไป
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1975 เลโอนอฟเป็นผู้บัญชาการยานอวกาศโซยุซในภารกิจอะพอลโล–โซยุซ ซึ่งเชื่อมต่อกับยานอวกาศอะพอลโลของสหรัฐในอวกาศเป็นเวลา 2 วัน
วัยเยาว์และการรับราชการทหาร
[แก้]เลโอนอฟเกิดที่เมืองลีสต์เวียนคา ในดินแดนไซบีเรียตะวันตก สาธารณรัฐรัสเซีย ในวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 [3] อะเลคเซย์เป็นบุตรระหว่างเยฟโดเคีย (สกุลเดิม: ซอตนิโควา) กับอาร์คฮิป เลโอนอฟ เขาเป็นบุตรคนที่แปดจากบุตรเก้าคนที่รอดชีวิต[a][4] บิดาของเขาเป็นช่างไฟฟ้าและคนงานเหมือง[5]
ใน ค.ศ. 1936 บิดาของเขาถูกจับกุมและประกาศว่าเป็น "ศัตรูแห่งประชาชน" เลโอนอฟเขียนในอัตชีวประวัติของเขาว่า: "เขาไม่ได้ถูกจับเพียงคนเดียว: ผู้อื่นอีกมากก็ถูกจับ มันเป็นส่วนหนึ่งของมโนธรรมที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้มีอำนาจเพื่อกำจัดใครก็ตามที่แสดงบุคลิกที่เป็นอิสระหรือแข็งแกร่งเกินไป เหตุการณ์นี้เกิดในช่วงของการกวาดล้างของสตาลิน หลายคนหายตัวไปในกูลักและไม่เคยกลับมาอีกเลย"[6] ครอบครัวของเลโอนอฟย้ายไปอยู่ที่เมืองเคเมโรโว บิดาของเขากลับมาอยู่ที่เคเมโรโวหลังจากที่เขาถูกปล่อยตัว เขาได้รับการชดเชยจากการถูกกักขังโดยมิชอบ[4] เลโอนอฟใช้งานศิลปะเป็นช่องทางในการหาเลี้ยงครอบครัวเพิ่มเติม เขาเริ่มอาชีพศิลปินโดยการวาดลายดอกไม้บนเตาอบ และในภายหลังเขาวาดทิวทัศน์ลงบนผ้าใบ[4]
รัฐบาลโซเวียตสนับสนุนในพลเมืองย้ายถิ่นฐานไปยังดินแดนปรัสเซียที่ถูกยิดครองโดยสหภาพโซเวียต ด้วยเหตุนั้น ใน ค.ศ. 1948 ครอบครัวของเขาย้ายไปยังเมืองคาลีนินกราด[7] เลโอนอฟสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาหมายเลข 21 ใน ค.ศ. 1953[7] เขาสมัครเข้าสู่สถาบันศิลปะในรีกา, สาธารณรัฐลัตเวีย แต่ตัดสินใจไม่เข้าเรียนเนื่องจากค่าเล่าเรียนสูง เลโอนอฟตัดสินใจเข้าร่วมโรงเรียนเตรียมการบินของยูเครนในเครเมนชุก เขาบินด้วยตนเองครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1955 พร้อมกับไล่ตามความชอบในศิลปะโดยการศึกษานอกเวลาในริกา เลโอนอฟเริ่มหลักสูตรการบินขั้นสูงสองปีเพื่อจะเป็นนักบินขับไล่ที่โรงเรียนทหารอากาศขั้นสูงชูกูเอฟในสาธารณรัฐยูเครน[7]
ในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1957 เลโอนอฟสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาเกียรตินิยม และได้รับการแต่งตั้งเป็นร้อยโทในกรมทหารพลร่มที่ 113 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองพลวิศวกรรมการบินที่ 10 กองทัพอากาศภาคที่ 69 ในเคียฟ[7] ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1959 เขาสมรสกับสเวตลานา ปาฟลอฟนา โดเซนโค[8]หนึ่งวันก่อนที่เขาจะย้ายไปเยอรมันตะวันออกหลังจากเขาถูกแต่งตั้งให้ไปยังกรมลาดตระเวนที่ 294 กองทัพอากาศภาคที่ 16[7]
โครงการอวกาศโซเวียต
[แก้]เขาเป็นหนึ่งในนักบิน 20 คนของกองทัพอากาศโซเวียตซึ่งถูกคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มฝึกซ้อมนักบินอวกาศชุดแรกใน ค.ศ. 1960[9] เหมือนกับนักบินอวกาศส่วนใหญ่ เลโอนอฟเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต การเดินอวกาศของเขาแรกเริ่มแล้วถูกวางแผนไว้สำหรับภารกิจวอสฮอด 1 แต่ได้มีการเปลี่ยนแผน เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นี้จึงเกิดขึ้นในภารกิจวอสฮอด 2แทน[10] ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1965 เขาออกไปภายนอกยานอวกาศเป็นเวลา 12 นาที และ 9 วินาที โดยตัวเขาเชื่อมต่อกับยานอวกาศด้วยสายเชื่อมยาว 4.8-เมตร (16-ฟุต)[9] ในช่วงปลายของการเดินอวกาศ ชุดอวกาศของเลโอนอฟได้บวมขึ้นจากสภาพสูญญากาศของอวกาศจนถึงระดับที่เขาไม่สามารถกลับเข้ายานอวกาศผ่านประตูกักอากาศได้[9] เขาเปิดวาล์วเพื่อลดแรงดันภายในชุดอวกาศและสามารถกลับเข้าไปในยานอวกาศได้อย่างยากลำบาก[9][11] ขณะดำเนินภารกิจ เลโอนอฟได้ร่างภาพดวงอาทิตย์ขึ้นจากวงโคจร เป็นงานศิลปะชิ้นแรกที่ถูกสร้างขึ้นในอวกาศ[12] เลโอนอฟใช้เวลาสิบแปดเดือนในการฝึกซ้อมสภาพไร้แรงโน้มถ่วงเป็นสำหรับภารกิจนี้[13]
ใน ค.ศ. 1968 เลโอนอฟได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้บัญชาการภารกิจโซยุซ 7K-L1 ในการบินรอบดวงจันทร์ ภารกิจนี้ถูกยกเลิกเพราะความล่าช้าในการทำการบินรอบดวงจันทร์ที่เชื่อถือได้ (ภารกิจซอนด์ 7และซอนด์ 8 เป็นเพียงสองภารกิจในโครงการบินรอบดวงจันทร์ที่ประสบความสำเร็จ) และภารกิจอะพอลโล 8ได้ประสบความสำเร็จในก้าวนั้นในการการแข่งขันอวกาศไปก่อนแล้ว เขายังได้รับคัดเลือกให้เป็นพลเมืองโซเวียตคนแรกที่จะลงจอดบนดวงจันทร์ บนยานอวกาศLOK/N1[10] แต่ภารกิจนี้ก็ถูกยกเลิกเช่นกัน (การออกแบบจำเป็นที่จะต้องมีการเดินอวกาศระหว่างยาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาได้รับคัดเลือก) เลโอนอฟได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการของภารกิจโซยุซ 11ใน ค.ศ. 1971 ไปยังสถานีอวกาศซัลยุท 1 สถานีอวกาศแห่งแรก แต่ชุดลูกเรือของเขาถูกสลับกับชุดสำรองหลังจากหนึ่งในสมาชิกนักบินอวกาศ วาเลริ คูบาซอฟถูกสงสัยว่าจะติดเชื้อวัณโรค[14]
เลโอนอฟได้รับแต่งตั้งให้บัญชาการภารกิจไปยังสถานีอวกาศซัลยุท 1 แต่แผนนี้ถูกยกเลิกหลังจากการเสียชีวิตขิงลูกเรือภารกิจโซยุซ 11 และสถานีอวกาศก็ไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้[15] สถานีอวกาศทั้งสองที่ถูกปล่อยตามมานั้นถูกทำลายในการปล่อยหรือล้มเหลวไม่นานหลังจากนั้น การลูกเรือของเลโอนอฟพร้อมสำหรับภารกิจต่อไป แต่เมื่อสถานีอวกาศซัลยุท 4ถูกปล่อยสู่วงโคจรสำเร็จ เลโอนอฟก็ถูกย้ายไปยังโครงการที่มีความสำคัญมากกว่านั้นแล้ว[16][17]
การเดินทางสู่อวกาศครั้งที่สองของเลโอนอฟ เขาไปในฐานะผู้บัญชาการยานอวกาศโซยุซ 19ซึ่งเป็นฝั่งของโซเวียตในโครงการทดสอบอะพอลโล–โซยุซในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งเป็นภารกิจอวกาศร่วมระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก[16][18] ระหว่างโครงการ เลโอนอฟได้เป็นเพื่อนกับผู้บังคับบัญชาฝั่งสหรัฐ โทมัส แพตเทน สแตฟฟอร์ด โดยเลโอนอฟได้เป็นบิดาทูนหัวของบุตรของสแตฟฟอร์ด[19][20] สแตฟฟอร์ดได้กล่างบทสรรเสริญเป็นภาษารัสเซียในงานศพของเลโอนอฟในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019[21][22]
ระหว่าง ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1982 เลโอนอฟเป็นผู้บัญชาการของคณะนักบินอวกาศ ("หัวหน้านักบินอวกาศ") และเป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ฝึกซ้อมนักบินอวกาศยูรี กาการิน ที่ซึ่งเขาดูแลการฝึกซ้อมของนักบินอวกาศ เขายังเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นักบินอวกาศเนปจูน เขาเกษียณอายุใน ค.ศ. 1992[10]
-
การเดินอวกาศครั้งแรก เดือนมีนาคม ค.ศ. 1965
-
ลูกเรือของโครงการทดสอบอะพอลโล–โซยุซใน ค.ศ. 1975
-
การจับมือครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างเลโอนอฟกับทอม สแตฟฟอร์ด
-
เลโอนอฟ (ซ้าย) กับดีค สเลย์ตัน ในยานอวกาศโซยุซ
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Soyuz Crew Eager for Another Flight". The New York Times. UPI. 23 July 1975. p. 55.
- ↑ Burgess & Hall 2009, p. 383.
- ↑ Burgess & Hall 2009, p. 54.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Burgess & Hall 2009, p. 55.
- ↑ French & Burgess 2007, p. 353.
- ↑ Scott & Leonov 2004, p. 8.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Burgess & Hall 2009, p. 56.
- ↑ "Алексей Архипович Леонов" [Alexei Arkhipovich Leonov]. Космическая энциклопедия ASTROnote [Space Encyclopedia ASTROnote]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2019. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "Alexei Leonov: First person to walk in space dies aged 85". BBC News. 11 October 2019. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Hall & Shayler 2003, pp. 332–333.
- ↑ McKinnon, Mika (18 March 2015). "50 Years Ago, The First Spacewalk Nearly Ended in Tragedy". Gizmodo. สืบค้นเมื่อ 28 January 2018.
- ↑ "First picture drawn in space to appear in cosmonauts show in London". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2015-08-31. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
- ↑ "Cosmonaut Leonov recalls life-threatening challenges during historical space walk". UNIS Vienna. 2015. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ Evans, Ben (20 February 2014). "Valeri Kubasov, Veteran ASTP Cosmonaut, Dies Aged 79". America Space. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
- ↑ Hall & Shayler 2003, p. 173.
- ↑ 16.0 16.1 Hall & Shayler 2003, p. 210.
- ↑ Harland & Catchpole 2002, p. 77.
- ↑ Dicati 2017, p. 61.
- ↑ Kellie Morgan (15 July 2015). "How historic handshake in space brought superpowers closer". CNN. สืบค้นเมื่อ 13 June 2018.
- ↑ "Apollo–Soyuz: A cold war handshake in space, 40 years on". New Scientist. 17 July 2015. สืบค้นเมื่อ 13 June 2018.
- ↑ "Russia bids farewell to first man who walked in space". MSN. 15 October 2019.
- ↑ Reuters Staff (2019-10-15). "Russia buries cosmonaut Alexei Leonov, first human to walk in space". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- A video of his spacewalk เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Voskhod 2 mission revisited
- Science fiction art by Leonov and Sokolov. Extensive gallery, with annotation. (รัสเซีย)
- "I could see Armstrong bouncing on the moon" – Alexey Leonov
- The official website of the city administration Baikonur - Honorary citizens of Baikonur
- Alexeï Léonov, the Spacewalker, Vladimir Kozlov's film, France-Russia, 2011